วิธีทำ SEO ด้วยตัวเองอย่างง่าย ให้เว็บติดอันดับหน้าแรกกูเกิลแบบไม่ต้องใช้เงิน

เวลาที่เราอยากขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ หลายคนอาจจะคิดว่าสร้างแค่เว็บไซต์ก็เป็นอันเสร็จ แต่ความจริงแล้วมันไม่ใช่เลย ปลาเคยทำเว็บไซต์เอาไว้เฉยๆ ไม่ได้เน้นเรื่องของบทความเท่าไหร่ เวลาผ่านไปหลายเดือนก็ไม่เห็นว่าจะมีใครแวะผ่านมาที่เว็บเราบ้างเลย ลูกค้าเงียบกริ๊บ แต่พอได้มาวางแผนใหม่ปรับรูปแบบเว็บไซต์

แล้วก็เน้นเรื่องของคอนเท้นท์หรือบทความเป็นอันดับแรก จดหัวข้อบทความที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าและบริการของเรา พร้อมๆกับการวิเคราะห์หาคีย์เวิร์ดมาสอดแทรกให้อยู่ในบทความ จากนั้นก็ลงมือปั้นตัวบทความเต็มที่เลยค่ะ ทำไปด้วยศึกษาเรื่อง วิธีทำ SEO อย่างง่าย ไปด้วย

ทำ SEO กำหนดคีย์เวิร์ด ใส่ alt text ที่รูป ใส่คำลงไปในบทความ เน้นที่คำคีย์เวิร์ด ทำแบบนี้กับทุกบทความที่ลง ช่วงแรกๆเงียบมาก มีคนเข้าจากที่แชร์คอนเท้นท์ไปบนเฟซบุ๊คประปราย 10-20 วิว นอกนั้นก็ไม่มีอะไร แต่พอเวลาผ่านไปได้ 6 เดือนก็มียอดคนเข้ามาอ่านบทความในเว็บ 3,000 กว่าคน ยอดวิว 5,000 กว่า วิวต่อเดือน โดยที่ไม่ได้จ่ายเงินซักบาทเลย อะเมซิ่งมากๆ

เลยทำให้เห็นว่าเรื่องคอนเท้นท์ SEO เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลยจริงๆ ปลาก็เลยจะมาแนะนำ วิธีสร้างบทความ SEO สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้น ให้มีทราฟฟิคคนเข้ามาที่เว็บไซต์ของเรามากขึ้นโดยเสียเวลาเรียนรู้ไม่นานค่ะ อาจจะมีข้อกำหนดเยอะแยะไปหน่อย แต่อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ ค่อยๆทำตามไปทีละขั้นรับรองว่าไม่ได้ยากเลยและได้ผลจริง (ขึ้นอยู่กับปริมาณการแข่งขันของคำคำนั้นด้วย) บทความที่เราพยายามปั้นสามารถติดอันดับหน้าแรกบนกูเกิลได้จริง เชื่อว่าเพื่อนๆทำกันได้แน่นอน

วิธีทำ SEO อย่างง่าย

จุดประสงค์ที่เราเขียนคอนเท้นท์ SEO ส่วนหนึ่งก็เพื่อการทำการตลาดผ่านทางบทความที่มีประโยชน์ต่อผู้อ่านของเรานั่นเอง และอีกส่วนหนึ่งของการเขียนคอนเท้นท์เหล่านี้ก็เพื่อให้คนอื่น Refer หรือทำลิ้งค์มาหาที่เว็บของเรานั่นเอง ถึงจะบอกได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าเว็บของเรานั้นมีประโยชน์จริง เจ๋งจริง แล้วจะยิ่งช่วยให้อันดับเว็บเราดีขึ้น สร้างยอดขายได้มากขึ้นด้วยนะคะ

เล่ามาซะยาว อันที่จริงแล้ว ขั้นตอนการทำ SEO ก็ไม่ยากเท่าไหร่ ถ้าใจถึงนะคะ มาค่ะ เริ่มกันเลยดีกว่า

วิธีการที่กล่าวมานี้จะใช้ได้ดีกับเว็บไซต์ที่ทำบน WordPress เราสามารถโหลดปลั๊กอินตัวช่วยฟรี ที่ทำให้คนที่ไม่ได้รู้เรื่องไอทีอะไรเยอะแยะ สามารถสร้างคอนเท้นท์ SEO ได้ดีติดอันดับกูเกิลได้ค่ะ

1. ติดตั้งปลั๊กอิน Yoast SEO

เข้ามาที่หน้า Dashboard ของเว็บไซต์เรา จากนั้นก็เลือกคำว่า Plugins และ Add new หาปลั๊กอินนี้แล้วก็ทำการ install ซะ แล้วชีวิตในการทำบทความ SEO จะง่ายขึ้นเยอะ เจ้าปลั๊กอินตัวนี้จะมีให้ใช้ฟรีอยู่บน WordPress ไม่ต้องเสียเงินค่ะ

จากภาพด้านล่างจะเห็นว่า Yoast SEO เค้ามีเกณฑ์เป็นข้อๆบอกไว้เลยให้เราสามารถทำตามได้ง่ายๆ ถ้าเราเขียนคอนเท้นท์ได้ตรงตามเกณฑ์ก็จะขึ้นไฟเขียวทีละอัน ยิ่งเราทำไฟเขียวได้มาก ก็ยิ่งช่วยให้คอนเท้นท์เรามีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะติดอันดับบนกูเกิลค่ะ

2.กำหนดคีย์เวิร์ด

เราควรกำหนดคีย์เวิร์ดที่เราอยากจะให้ติดอันดับกูเกิล เช่น คำว่า อาชีพออนไลน์ และถ้าจะให้ดีต้องลองเอาคำนี้ไปเช็คเรตติ้งดูก่อน ว่ามีการค้นหาเยอะมั้ย แล้วบทความของคนอื่นเป็นอย่างไรบ้างเหมือนหรือต่างจากสิ่งที่เรากำลังจะเขียนอย่างไร เราทำให้ดีกว่าเค้าได้หรือไม่ เช่น บทความเค้าอาจจะมีแค่ 200 คำ งั้นเราก็ต้องเขียน 300 คำ ของเค้ามีรูปเดียว ของเราก็ต้องมี 5 รูปเลย ใส่คลิปวิดีโอแถมด้วย ใส่ข้อมูลให้เต็มที่เลยค่ะ คนจะได้ชอบข้อมูลและเชื่อว่าเราคือตัวจริง รู้ละเอียด ถ้าเราทำให้เค้าชอบได้ แล้วสามารถวนกลับมาอ่านบทความเราอีกได้ก็ถือว่าสำเร็จแล้วค่ะ

3.ตั้งชื่อบทความโดยใส่คีย์เวิร์ดของเราลงไปด้วย

เมื่อเราได้คำที่คิดว่าใช่แล้ว ก็จัดการนำคำนั้น มาแต่งเป็นชื่อบทความด้วยนะคะ และที่สำคัญคือต้องเขียนโปรยข้อความให้ดูน่ากดเข้ามาอ่านด้วย เช่น อาชีพออนไลน์ ทำเงิน 2018 ไม่ต้องลงทุนเยอะ ประมาณนี้ค่ะ ใส่ไว้ที่ SEO Title ได้เลย ดูความยาวให้เหมาะสมด้วยนะคะ เขียนให้ขึ้นแถบเขียวปริ่มๆเกือบเต็ม จะดีมาก

4.จำนวนคำในบทความต้องมีความยาว 300 คำขึ้นไป

ถ้ามีเว็บไซต์อยู่แล้วเราสามารถเช็คได้จากในหน้า Blog Post ด้านล่างได้เลย หรือจะดูจาก Yoast SEO ก็ได้ เค้าจะนับคำด้วยวิธีของเค้าให้เรา แต่ถ้าเราอยู่ในขั้นเตรียมข้อมูลก็สามารถนำเอาบทความมานับคำได้ที่เว็บ th.wordcounter360.com ได้เลย ใช้นับคำได้ใกล้เคียงกัน

5.ตั้งชื่อ slug ของบทความเป็นภาษาอังกฤษ

ตามหลักเค้าจะบังคับให้เราใส่คีย์เวิร์ดลงไปด้วยในส่วนของ Slug หรือที่อยู่ลิ้งค์ที่เรียกว่า Url ส่วนใหญ่แล้วคีย์เวิร์ดหรือคำที่เราใช้กันจะเป็นภาษาไทย ซึ่งมันจะมีปัญหาตอนที่เราก็อปปี้ลิ้งค์ไปแชร์ตามที่ต่างๆ ลิ้งค์มันจะกลายเป็นภาษาต่างดาวแล้วก็ยาวมากๆ ทำให้ไม่สวยนะคะ เพราะฉะนั้นข้อนี้ยกเว้นได้ค่ะ ตั้งชื่อลิ้งค์เป็นภาษาอังกฤษดีกว่า

6.ใส่คีย์เวิร์ดลงใน Meta description

เป็นการอธิบายบทความแบบกระชับ เอาส่วนของย่อหน้าแรกในบทความมาซัก 2 บรรทัด โดยที่ในย่อหน้านี้ต้องมีคีย์เวิร์ดอยู่ด้วยนะ เช่น …. อาชีพออนไลน์ …. และที่จะแนะอีกนิดคือ กูเกิลเค้าไม่ค่อยถนัดภาษาไทยเท่าไหร่ เวลาใส่คีย์เวิร์ดแล้วเขียนติดกันเป็นพรืด เค้าจะหาไม่เจอ เพราะฉะนั้นเลยต้องมีการเว้นวรรคให้คำนั้นๆด้วย เค้าจะได้หาคำสำคัญให้เราได้ง่ายๆ

ยังค่ะ ยังไม่หมด ตอนที่เราใส่ข้อความลงไป ให้ดูแถบสีเขียวด้วยนะ ต้องพยายามใส่เนื้อหาลงไปให้แถบสีเขียวอยู่ปริ่มๆ และต้องไม่ยาวจนเกินไปด้วย

7. ต้องมีคีย์เวิร์ดในย่อหน้าแรกของบทความ

เราก็ต้องมีคีย์เวิร์ดอยู่ในนั้นด้วย ทำตัวหนาและเว้นวรรคหน้าหลังไว้ ก็จะช่วยให้กูเกิลตรวจเจอคำได้

8. เอาคีย์เวิร์ดมาตั้งเป็นหัวข้อ Subheading เช่น H1, H2, H3

ขั้นตอนนี้เหมือนเป็นการเน้นคำคีย์เวิร์ดให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เค้าจะได้จับคำได้ง่ายขึ้น ว่าเราอยากให้คำนี้ติดอันดับ

9.ในบทความต้องมีการทำ บูลเล็ท หรือ การทำคอนเท้นท์ให้เป็นข้อๆ

เพื่อความสะดวกในการอ่านและทำให้คนอ่านเข้าใจเนื้อหาของบทความได้ง่ายขึ้น

10.ต้องมีรูปภาพที่มี alt text เดียวกันกับคีย์เวิร์ด อย่างน้อยหนึ่งรูป

การมีภาพประกอบจะช่วยให้บทความของเราน่าอ่านมากขึ้น และจะดีขึ้นไปอีกถ้าเราใส่คีย์เวิร์ดที่เรากำหนด ลงไปที่ alt ของภาพด้วย เพราะกูเกิลเค้าจะมองไม่เห็นภาพของเรา เค้าอ่านโค้ดได้อย่างเดียว หน้าที่ของเราคือทำในสิ่งที่กูเกิลอ่านออก

11.คีย์เวิร์ดต้องไม่ซ้ำกับที่เคยมีในเว็บไซต์

เข้าใจว่าบางทีเราก็อยากจะให้มีคำคีย์เวิร์ดที่เป็นประเด็นหลักของเว็บไซต์เราอยู่ในหลายๆบทความ เมื่อเราไม่สามารถใช้คำซ้ำได้ เราก็สามารถเลี่ยงคำได้ค่ะ เช่น มีคำคีย์เวิร์ด บวกกับ คำขยาย เช่น อาชีพออนไลน์ ทำเงิน เท่านี้ก็ไม่ซ้ำแล้ว

12.คีย์เวิร์ดต้องมีจำนวนกำลังดี

ไม่มากเกินไป จนกลายเป็นบทความ Spam ซึ่งเค้าจะเหมาว่าบทความของเรานั้นไม่ได้คุณภาพ

13.เขียนสรุปคอนเท้นท์

ตอนท้ายต้องเขียนสรุปคอนเท้นท์ด้วยว่า ทั้งหมดที่เล่ามานั้น สรุปแล้วมันคืออะไร เพื่อให้คนเข้าใจประเด็นที่เราต้องการสื่อได้ง่ายขึ้น และไม่สับสน

14.ต้องมี internal link

คือการทำลิ้งจากคอนเท้นอื่นที่เกี่ยวข้องจากบทความ หรือจากหน้าเพจก็ได้ ซึ่งเราควรทำเป็นประโยคแล้วใส่ลิ้งค์เข้าไปในประโยคเหล่านั้น

15.ต้องมี Outbound Link

วิธีเดียวกับ internal link แต่คราวนี้เป็นการทำลิ้งค์ที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้จากภายนอก เช่น การอ้างอิงข้อมูล ตัวอย่างผลงาน ที่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้บทความของเรามากขึ้น

คำแนะนำเพิ่มเติม

1.หาทราฟฟิคด้วยตัวเองก่อน

เมื่อทำบทความ SEO ที่ฟูลออปชั่น พร้อมสู้ศึกบนสนามแข่งแล้ว ที่จะขาดไม่ได้เลยคือการเพิ่มความสตรองให้กับบทความนั้นด้วยการแชร์มันออกไปให้มากที่สุด แชร์ไปตามกรุ๊ปเฟซบุ๊คที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเพื่อนๆที่มีความสนใจในเรื่องที่เราทำ เพื่อหาทราฟฟิคกลับมาที่เว็บไซต์ ซึ่งมันช่วยให้บทความนั้นเสิร์ชเจอบนกูเกิลได้มากขึ้น แล้วก็เพิ่มยอดวิวได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วยนะ

2.จำนวนของคอนเท้นท์ก็สำคัญ

ต้องมีอย่างน้อยๆก็ 30 อัพ ยิ่งมีจำนวนบทความเยอะ เปอร์เซ็นต์ที่บทความเหล่านั้นจะติดเสิร์ช Google ก็มีมากขึ้นด้วย ซึ่งเจ้าบทความเหล่านี้ที่ทำถูกหลัก SEO มันก็จะค่อยๆทำงานของมันดึงคนเข้าเว็บไปเรื่อยๆ ที่สำคัญคือเมื่อคนเข้ามาที่เว็บแล้ว และเห็นว่าในเว็บของเรานั้น มีบทความแน่นๆให้อ่านก็จะเกิดความเชื่อใจมากกว่าเว็บที่มีแค่ 5 บทความนะคะ

3.ความต่อเนื่อง

ถ้าอัพทุกวันได้ก็เก๋เลย เว็บโตเร็วแน่นอน แต่ถ้าไม่ไหว อาทิตย์ละบทความก็ยังดีค่ะ ต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6 เดือน ให้เว็บไซต์มีความเคลื่อนไหวและมีการอัพเดทด้วย ซึ่งก็จะช่วยให้อันดับเว็บเราดีขึ้นด้วยนะ

4.ทำลิสต์หัวข้อคอนเท้นท์

ซึ่งตรงนี้แนะนำว่าให้คิดหมวดหมู่หลักไว้ แล้วก็ลิสต์เป็นหัวข้อที่เราอยากจะแชร์ความรู้และประสบการณ์ให้คนอ่านออกมาเยอะๆ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ไอเดียเราไม่ตัน และสามารถมีทิศทางที่ชัดเจนได้ค่ะ ทำให้มีอารมณ์เขียนออกมาได้เรื่อยๆเลย

5.ทำ Backlink

เราต้องหาเพื่อนหรือคนรู้จักที่เค้ามีเว็บไซต์ที่ใช้งานเองมาทำ Backlink ให้เรา ทำได้โดยการเขียนบทความที่เกี่ยวข้องแล้วใส่ลิ้งค์กลับมาที่เว็บไซต์ของเรา หรือทำภาพแบนเนอร์ต่างๆแล้วใส่ลิ้งค์ก็ได้เช่นกัน เมื่อเค้าช่วยเรา เราก็ตอบแทนด้วยการทำวิธีเดียวกัน เชื่อมโยงไปที่เว็บของเค้าด้วยก็ได้นะคะ เป็นวิธีหาพันธมิตรช่วยกันทำมาหากินอีกทางที่ดีมากเลย เติบโตไปด้วยกัน

6.นำบทความเดิมที่เคยทำ มาปรับแต่ง SEO

วิธีนี้ก็ช่วยประหยัดเวลาได้เยอะค่ะ ถ้าเราเป็นสายเขียนบทความอยู่แล้ว มีสต๊อคงานอยู่เพียบเลย สิ่งที่ต้องทำก็คือการเลือกบทความเหล่านั้นที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ในเว็บของเรา เอามาทำตามขั้นตอนทั้งหมดเหล่านี้ที่บอก เพิ่มนั่นนิด นี่หน่อย กำหนดคีย์เวิร์ด ใส่ลิ้งค์ ใส่ภาพ รับรองว่าช่วยเรื่องการทำอันดับบนเสิร์ชกูเกิลได้เยอะเลย

7.ไม่ยุ่งกับ Url ที่ทำไปแล้ว

ที่อยู่ลิ้งค์เป็นอะไรที่ Sensitive มาก สำหรับมือใหม่แล้วจะค่อนข้างวุ่นวายถ้าเราไปแก้ไข แล้วกูเกิลเค้าดันมาเก็บ index ไปแล้วมันจะทำให้การส่งต่อข้อมูลมีปัญหา ถ้าเราอยากเปลี่ยนชื่อลิงค์จริงๆ เราก็ต้องทำการ Redirect ด้วย เพื่อให้เค้าหาที่อยู่เดิมเจอ ซึ่งมันก็จะยาวอีก เพราะงั้นถ้าเรามีลิ้งค์เดิมอยู่แล้วก็ไม่ต้องไปปรับมัน แต่เราสามารถแก้ไขเนื้อความด้านในได้

8.ใส่ Call to action

คือการขอร้องให้ท่านผู้ชมทั้งหลายทำอะไรสักอย่างกับบทความนี้ เช่น แชร์ด้วยนะคะถ้าชอบ กดไลค์เฟซบุ๊คด้วยนะคะ สั่งซื้อของได้ที่นี่ เป็นต้น ใส่เอาไว้ที่ท้ายบทความเพื่อเป็นการย้ำเตือนกันอีกที และช่วยเรียกยอดขายได้

9.ใส่คลิปวิดีโอ

อาจจะเป็นการทำคลิปวิดีโอบน Youtube สอนวิธีใช้งาน หรือจะเป็นคลิปวิดีโอสรุปงานทั้งหมดแบบกระชับได้ใจความก็ได้ เอาคลิปมาใส่ในเว็บบล็อกเลยค่ะ จากนั้นก็เพิ่มเติมคำอธิบายของคลิปลงไป การมีคลิปวิดีโอก็จะช่วยให้บทความนั้นๆของเราเด่นขึ้นได้ และช่วยดันอันดับให้มันอยู่ตำแหน่งแรกๆได้อีก เพราะ Youtube ก็เป็นส่วนหนึ่งของ Google มันก็จะช่วยกันทำงานได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ

สรุป

จริงๆแล้วปัจจัยในการทำ SEO ยังมีอยู่อีกเยอะมากๆ แต่เราคัดมาให้เฉพาะข้อควรรู้สำหรับมือใหม่ จะได้ไม่ตกใจไปก่อน คงจะเห็นแล้วว่าการเริ่มต้นทำคอนเท้น SEO ค่อนข้างยุ่งยากและมีหลายขั้นตอนที่ต้องดูแล แต่เราใช้เวลากับมันเพียงแค่ครั้งเดียว เมื่อเวลาผ่านไป บทความที่ถูกหลักก็จะทำหน้าที่ของมันคือการดึงทราฟฟิคเข้ามาในเว็บไซต์ เพราะฉะนั้น ขยันและอดทนหน่อยนะคะ เดี๋ยวมันจะดีเอง

SEO (Search Engine Optimization) คือ?

Table of Contents

SEO (Search Engine Optimization) คือ?

SEO” หรือ “Search Engine Optimization” คือ วิธีการปรับแต่งเว็บไซต์ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงเนื้อหา และการเพิ่ม Backlink ซึ่งเป็นลิงค์ที่มีคุณภาพมายังเว็บไซต์ เพื่อโปรโมทเว็บไซต์ให้ติดอยู่ในอันดับต้นๆ บน Search Result Page (หน้าแสดงผลการค้นหา) เมื่อกรอก Keyword (คำค้นหา) ที่ต้องการผ่าน Search Engine (เครื่องมือค้นหา) อาทิ Google, Yahoo!, Bing เป็นต้น โดยเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ในระยะยาว

เนื่องจากในปัจจุบันมีผู้ค้นหาข้อมูลผ่าน Google มากเป็นอันดันหนึ่งในหลายๆ ประเทศ ทั้งในประเทศไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย ญี่ปุ่น เป็นต้น ส่วนใหญ่จึงเน้นการทำ SEO บน Google เป็นหลัก ทั้งนี้ แต่ละ Search Engine ก็มีหลักการที่ไม่ต่างกันนัก นั่นคือ “User Experience (UX)” หรือ “การมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด” ดังนั้นการทำ SEO ตามหลักของ Google จะเน้นการทำเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ ให้ข้อมูลที่ตรงกับ Keyword ที่ใช้ค้นหา จึงสามารถส่งผลในการทำ SEO ใน Search Engine อื่นๆ อีกด้วย

ตัวอย่างหน้าผลการค้นหาของ Google.co.th โดย Keyword คำว่า “ทัวร์ญี่ปุ่น”

ในส่วนของกรอบสีแดง คือ ส่วนของ “Organic Search” หรือที่เรียกว่า “Natural Search” ในส่วนนี้เป็นข้อมูลหน้าเว็บไซต์ทั้งหมดที่ทางระบบของ Search Engine อาทิ Google รวบรวมมาโดยใช้ระบบในการจัดอันดับ หรือที่เรียกว่า “Algorithm (อัลกอริทึม)” ซึ่งการให้คะแนนนั้นก็ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ที่แต่ละ Search Engine ได้กำหนดขึ้น โดยที่เจ้าของเว็บไม่สามารถเลือกตำแหน่งเองได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงเรียกวิธีการปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอยู่ในอันดับต้นๆ บนหน้าผลการค้นหานี้ว่า “SEO (Search Engine Optimization)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ SEM (Search Engine Marketing)” หรือการทำการตลาดบน Search Engine 

สำหรับในส่วนข้อความที่อยู่เหนือกรอบสีแดง ที่มีคำว่า “โฆษณา” หรือ “Ad” นั้นคือส่วนของการลงโฆษณากับทาง Search Engine ซึ่งเรียกว่า “PPC (Pay Per Click)” โดยเป็นการประมูล Keyword ที่ต้องการให้แสดงโฆษณา และจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายเมื่อมีการคลิกเข้าไปชม สามารถติดอันดับได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องปรับปรุงเว็บไซต์ ในขณะที่ส่วนของ SEO นั้นจะไม่มีค่าใช้จ่ายเมื่อมีคนคลิกเข้าไปชม แต่ก็ต้องใช้เวลา และเราก็ต้องพัฒนาเว็บไซต์พร้อมสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ เพื่อให้ Search Engine จัดอันดับให้หน้าเว็บไซต์ไปอยู่ในอันดับที่ดีที่สุด

Search Engine Algorithm คือ?

ระบบการจัดอันดับการแสดงผลใน Search Result Page (หน้าแสดงผลการค้นหา) มีชื่อเรียกว่า “Algorithm (อัลกอริทึม)” แต่ละ Search Engine จะมีระบบ Algorithm ในการให้คะแนนเว็บไซต์ที่แตกต่างกันและจะมีการอัพเดตอยู่เสมอๆ เพื่อคัดกรองเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพและเพื่อให้ผลการค้นหานั้นตรงตามที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุด เราจึงจำเป็นต้องสร้างเว็บไซต์และเนื้อหาให้มีคุณภาพตาม Algorithm เพื่อให้เว็บไซต์สามารถทำอันดับได้ดีที่สุด

Algorithm (อัลกอริทึม) ที่ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google ซึ่งเป็น Search Engine หลักที่นิยมใช้ในประเทศไทยและในหลายประเทศทั่วโลกนั้นมีอยู่มากกว่า 100 ปัจจัย แต่เราสามารถสรุป Algorithm ได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ

ปัจจัยภายใน (On-page / Micro)

ปัจจัยภายในนั้นมาจากการปรับแต่งตัวโครงสร้างเว็บไซต์และเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำ SEO ให้ติดอันดับ ได้แก่

  • Crawl Ability : โครงสร้างของเว็บไซต์ที่เอื้อต่อการเก็บข้อมูลของ Search Engine
  • Site Volume : จำนวนหน้าภายในเว็บไซต์ (Index)
  • Site Theme : ลิงค์เชื่อมโยงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ (Internal Link)
  • Text Match : การเลือกใช้คำที่เกี่ยวข้องกับ Keyword ตลอดจนคุณภาพและปริมาณของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ Keyword
  • ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของผู้ใช้ (User Experience (UX)) เช่น
    • PageSpeed : ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์
    • Mobile friendly : เว็บไซต์ใช้งานได้ง่ายบนโทรศัพท์มือถือและรองรับขนาดหน้าจอที่มีขนาดแตกต่างกัน (Responsive Web Design)
    • Safe Browsing : ความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งเว็บไซต์ต้องไม่มีการฝัง Malware (มัลแวร์) หรือ Spam (สแปม)
    • HTTPS : การใช้ SSL Certificate ซึ่งช่วยป้องกันการดักข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ใช้กรอกในเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลส่วนตัว เลขบัตรเครดิต
    • Intrusive Interstitial : ไม่มีโฆษณาที่แสดงขึ้นมาจนบังเนื้อหาหลักของเว็บไซต์ เช่น Popup Ads (โฆษณาป๊อปอัป)

ปัจจัยภายนอก (Off-page / Macro)

ปัจจัยจากภายนอกนั้นคือ Backlink หรือลิงค์จากเว็บไซต์อื่น (External Link) โดยอาจเป็นลิงค์ที่ผู้อื่นสร้างให้เว็บไซต์ของเรา เช่น การอ้างอิงที่มาของข้อมูล  หรือลิงค์ที่เราสร้างด้วยตัวเราเอง เช่น การไปลงบทความในเว็บไซต์อื่น การลงทะเบียนเว็บไซต์ในสารบัญเว็บไซต์ ซึ่งปัจจัยภายนอกนี้สามารถแบ่งได้เป็น

  • Link Popularity : ปริมาณ Backlink ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของเรา
  • Site Theme : คุณภาพของเนื้อหาและ Backlink ที่เชื่อมโยงมายังเว็บไซต์ของเรา

วิธีการทำ SEO ให้ติดอันดับ (อัปเตต 2022)

กลยุทธ์สำหรับการทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จมากที่สุดนั้นคือ “การทำ SEO ให้เป็นธรรมชาติที่สุด โดยคำนึงถึง User (ผู้ใช้งาน) เป็นหลัก” จะทำให้ได้เว็บไซต์ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง และติดอันดับอย่างยั่งยืน ไม่ต้องกังวลเรื่องการอัพเดท Algorithm มากนัก ซึ่งหลักๆ ก็มีวิธีการทำดังต่อไปนี้

กลยุทธ์การทำ On-page SEO

On-page SEO คือ วิธีการปรับปรุงภายในเว็บไซต์ในส่วนของเนื้อหาในหน้าเว็บและโครงสร้างของสร้างของเว็บไซต์ทั้งในส่วน Coding และการดีไซน์ส่วนต่างๆ

  ใส่ Keyword เป้าหมายและ Keyword ที่เกี่ยวข้อง

  • ควรเลือก Keyword สอดคล้องกับเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ และมี Search Volume หรือจำนวนผลการค้นหา เพื่อดูว่ามีคนใช้ค้นหามากน้อยเพียงใด
    *สามารถดูจากปริมาณการค้นหาและหาไอเดียเพิ่มเติมด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น Google Keyword Planner,  KWFinder, Uber Suggest, Ahrefs 
  • ควรใส่ Keyword อย่างพอเหมาะในส่วนที่มีความสำคัญต่างๆ ภายในแต่ละหน้าของเว็บไซต์
    เช่น Title TagMeta Description, H1 tag, H2 tag, เนื้อหาส่วนที่เป็น Plain Text (p tag), alt ในรูปภาพ, Anchor Link
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ Keyword ซ้ำๆ กันเป็นจำนวนมากเพื่อไม่ให้เป็น Keyword Spam หรือ Keyword Stuffing อีกทั้งยังไม่เป็นธรรมชาติเวลา User (ผู้ใช้งาน) มาอ่านเนื้อหา

 สร้างและเพิ่มเติมเนื้อหาที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนอง User

  • ควรสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการทำ SEO ในหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการให้ติดอันดับ ตลอดจนหน้าเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีเนื้อหาสนับสนุนหรือเกี่ยวข้องกัน พร้อมทำลิงค์เชื่อมโยงเพื่อให้อ่านต่อ
  • ควรสร้างหน้าเว็บไซต์ใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อเพิ่มจำนวนหน้าในเว็บไซต์ เช่น บล็อก สาระความรู้ โดยเนื้อหาควรมีความเกี่ยวข้องกับธีมเนื้อหาหลักของเว็บไซต์
  • ควรเขียนเนื้อหาที่ให้ข้อมูลที่เจาะลึกและมีประโยชน์ พร้อมตอบโจทย์ผู้ที่ต้องการค้นหา Keyword เพื่อให้เป็นเนื้อหาที่มีคุณภาพมากที่สุดในสายตาของ User
  • ควรเขียนเนื้อหาหรือเรียบเรียงข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ด้วยตัวเอง ไม่คัดลอกมาจากที่อื่น และไม่ใช้เครื่องมืออัตโนมัติในการสร้างบทความ

 สร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานให้กับ User

  • ควรทำหน้าเว็บไซต์ให้รองรับกับอุปกรณ์มือถือ (Mobile-friendly) ซึ่งปัจจุบันยอดผู้เข้าชมส่วนใหญ่ประมาณ 80% มาจากช่องทางนี้ และ Google ได้ใช้เนื้อหาบน Mobile ในการจัดอันดับเว็บไซต์
    *รูปแบบที่แนะนำคือ Responsive Web Design
  • ออกแบบเว็บไซต์โดยคำนึงถึงหลัก UX/UI Design โดยทำให้ใช้งานง่าย และมีความสวยงาม จน User ประทับใจและอยากกลับมาใช้งานอีก
  • ควรติดตั้ง SSL Certificate เพื่อทำ HTTPS เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานเว็บไซต์ให้กับ User
  • ควรเลือกใช้บริการ Hosting ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เว็บไซต์มีความสเถียร ไม่ล่มง่าย รองรับการใช้งานเมื่อมีผู้เข้าใช้เป็นจำนวนมาก และทำให้เว็บไซต์โหลดได้เร็ว
  • ควรแทรกรูปภาพหรือวิดีโอระหว่างบทความ เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับเนื้อหา ดึงดูดให้ User อ่านต่อและอยู่บนหน้าเว็บไซต์นานๆ
  • ควรมี Call to Action อย่างชัดเจน เช่น สั่งซื้อสินค้า ติดต่อสอบถาม เพื่อบอกว่า User ควรทำอะไรต่อ และไปเยี่ยมชมหน้าอื่นๆ ต่อ
  • ควรทำหน้าเว็บไซต์ให้โหลดได้รวดเร็วเพื่อไม่ให้ User ต้องรอนาน เช่น ใช้ระบบ Cache, ลดขนาดรูปภาพและไฟล์, แปลงไฟล์รูปภาพเป็น WebP, ทำ Lazy Loading ให้โหลดรูปเมื่อเลื่อนมาถึง
  • หลีกเลี่ยงการใช้โฆษณาที่รบกวนการใช้งานของ User (Intrusive Interstitial) เช่น Popup ที่เด้งขึ้นเต็มจอ จนบังเนื้อหาในเว็บไซต์ไปเกือบหมด

 ปรับปรุงโครงสร้างเว็บไซต์ให้เป็นมิตรกับ Search Engine และ User

  • สามารถใส่ Canonical Tag (rel=”canonical) เพื่อให้ Google จดจำ URL ที่ต้องการ ในกรณีที่มีเนื้อหาซ้ำๆ กันหลายหน้า
  • ควรแบ่งหมวดหมู่เนื้อหาหรือสินค้าให้เป็นระบบตามลำดับชั้น และทำเมนูนำทาง (Navigation) ให้เป็นระเบียบ ดูเข้าใจง่าย
    เช่น Home › Product › Category
  • ควรเลือกใช้โครงสร้าง URL แบบ Static ที่ Search Engine สามารถอ่านได้ง่าย
    *หลีกเลี่ยงการใช้ URL แบบ Dynamic ที่มีเครื่องหมาย เช่น ? และ =
  • ควรเลือกใช้โครงสร้าง URL ที่ User สามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย
    *ควรใช้คำภาษาอังกฤษแทนภาษาไทย และใช้เครื่องหมาย – แบ่งระหว่างคำ เช่น …./what-is-seo/
  • ควรแยก URL หากเว็บไซต์มีหลายภาษา เช่น …/en/, …/jp/
    *ไม่ใช้ Cookies ในการเปลี่ยนภาษา เพราะ URL จะไม่มีการเปลี่ยนตาม ทำให้ Search Engine ไม่สามารถอ่านภาษาอื่นๆ ได้
  • ใช้ Schema Markup เพื่อให้ Google เข้าใจเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ได้มากขึ้น

 อัพเดตเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ

  • ควรปรับปรุง หรือเพิ่มเติมข้อความในหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการให้ติดอันดับ เพื่อเนื้อหามีการอัพเดตอยู่ตลอด
  • ควรเพิ่มข้อมูลใหม่ๆ ในเว็บไซต์ เช่น สินค้ามาใหม่ ข่าวสาร โปรโมชั่น ผลงานล่าสุด เพื่อให้เว็บไซต์มีความสดใหม่อยู่เสมอ

กลยุทธ์การทำ Off-page SEO

Off-page SEO คือ การใช้ปัจจัยภายนอกจากเว็บไซต์ในการช่วยเพิ่มอันดับ ซึ่งก็คือลิงค์อ้างอิง หรือที่เรียวกว่า Backlink เชื่อมโยงจากเว็บต่างๆ มายังเว็บไซต์ของเรา

 เพิ่ม Backlink ที่มีคุณภาพ

  • ควรสร้างลิงค์จากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ และมีเนื้อหาหรือบริบทเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือ Keyword ของเรา
  • ควรทำ Backlink เป็น “DoFollow” ซึ่งสามารถส่งคะแนน SEO มาให้เว็บไซต์ของเรา (หากเป็น NoFollow จะมีโค้ด rel=”nofollow” กำกับอยู่ที่ลิงค์)
  • ควรเขียนเนื้อหาบทความในการทำ Backlink ให้มีน่าสนใจและมีประโยชน์ เพราะลิงค์ที่สามารถเพิ่ม Traffic โดยทำให้คนอ่านคคลิกต่อมายังเว็บไซต์ของได้ถือได้ว่าเป็น Backlink ที่มีคุณภาพอย่างมาก
  • ควรหลีกเลี่ยงการสร้างลิงค์ด้วยบทความเดิมซ้ำๆ หรือการ Spin บทความโดยใช้โปรแกรมเพื่อสร้างบทความใหม่ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ User อ่านไม่รู้เรื่อง

 เพิ่ม Backlink อย่างเป็นธรรมชาติ

  • ควรสร้างลิงค์อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่ควรระดมยิงลิงค์จำนวนมากมารวดเดียวในระยะเวลาสั้นๆ
  • ควรทยอยเพิ่ม Backlink ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ ป้องกันการโดนแบนจาก Search Engine โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก Google
  • ควรหลีกเลี่ยงการสร้างลิงค์ด้วยการโพสตามเว็บบอร์ดหรือเว็บประกาศเป็นจำนวนมาก เพราะเป็น Spam และมีโอกาสทำให้อันดับตกได้
  • สามารถสร้าง Backlink แบบ NoFollow ได้ แต่ไม่ควรสร้างเป็นจำนวนมากจนผิดปกติ เพราะอาจโดนมองว่าเป็น Spam ได้เช่นกัน

แนวทางการรักษาอันดับ

หลังจากเริ่มทำ SEO ไปได้สักระยะหนึ่ง จะเริ่มเห็นการพัฒนาของอันดับไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและคุณภาพของเว็บไซต์ของเรา รวมทั้งการแข่งขันใน Keyword นั้นๆ และคุณภาพเว็บไซต์ของคู่แข่ง

  • โดยทั่วไปแล้วอันดับจะไต่ขึ้นมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากอันดับของเว็บไซต์ยังไม่ดีขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ จำเป็นต้องเพิ่มเนื้อหาภายในเว็บไซต์กับเพิ่มจำนวน Backlink ที่มีคุณภาพให้มากยิ่งขึ้น
  • เมื่อเว็บไซต์ติดในหน้าแรกของผลการค้นหาแล้ว ก็ยังจำเป็นต้องอัพเดตเว็บไซต์อยู่ตอด เพิ่มเติมเนื้อหา และเพิ่ม Backlink อย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาอันดับเอาไว้
  • แนะนำให้ลงบทความหรือหรืออัพเดทบล็อกสม่ำเสมอ ด้วยบทความที่น่าสนใจ มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน และเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์หรือ Keyword ที่ทำ SEO สามารถช่วยเพิ่ม Traffic ให้ได้ และช่วยในการรักษาอันดับได้เป็นอย่างดี

ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการทำ SEO

ปัจจัยเหล่านี้ไม่ได้เป็นที่ยืนยันจาก Google ว่ามีผลต่อการจัดอันดับ แต่เป็นสัญญาณที่สามารถบ่งบอกได้ว่าเว็บไซต์นั้นมีคุณภาพดีหรือไม่ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้พัฒนาหรือผู้ดูแลเว็บไซต์ได้ปรับปรุงเพิ่มเติม

สัญญาณจากผู้ใช้เว็บไซต์ (User Signals)

  • ข้อมูลการใช้งานของเว็บไซต์สามารถดูได้จาก Google Analytics ไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Users), รายงานข้อความค้นหาของคีย์เวิร์ด (Queries) และ อัตราการคลิกเข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Keyword นั้นๆ (CTR) เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้เป็นสัญญาณที่สำคัญที่ใช้วัดคุณภาพของเว็บไซต์ได้
  • ด้วยเหตุนี้เองเว็บไซต์ที่ต้องการทำ SEO จึงควรติด Google Analytics และ Search Console เพื่อให้ Google เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวและเราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพเว็บไซต์ของตัวเองได้

สัญญาณจาก Social Media (Social Media Signals)

  • จำนวน Likes และ Shares ของลิงค์หน้าเว็บไซต์ รวมทั้ง Traffic จาก Social Media ต่างๆ ได้แก่ Facebook, Twitter และ Pinterest มีส่วนช่วยในการจัดอันดับเว็บไซต์
  • การสร้างบทความที่มีประโยชน์ซึ่งเกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักในเว็บไซต์และใช้ Social Media เป็นช่องทางในการกระจายบทความไปยังผู้ใช้ เพื่อดึงให้คนเข้ามาอ่านบทความและเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์ จึงเป็นวิธีการที่ช่วยให้ทำอันดับบน Google ได้ดีและติดอันดับเร็วขึ้น

ข้อควรระวังในการทำ SEO

 ไม่คัดลอกเนื้อหาหรือรูปภาพ

ห้ามคัดลอกเนื้อหาจากเว็บไซต์อื่นมาใช้โดยไม่มีการเรียบเรียงใหม่ หรือไม่มีการใส่แหล่งที่มา หรือไม่ได้ขออนุญาตก่อน รวมถึงการใช้รูปภาพที่ติดลิขสิทธิ์ เพราะเจ้าของเนื้อหาหรือรูปภาพสามารถส่งเรื่องให้ Google (Copyright Removal) นำหน้าเว็บไซต์ของเราออกได้ เนื่องจากเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งจะทำให้อันดับของหน้าเว็บไซต์เราหายไปในทันที

 ไม่ใส่โฆษณาจนบังเนื้อหาหลัก

ไม่ควรใส่โฆษณา Pop-up ที่เด้งขึ้นเต็มหน้าจอจนบดบังเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ เพราะ Google มองว่าเป็นสิ่งที่รบกวนการใช้งานของ User (Intrusive Interstitials) ซึ่งอาจโดน Google ลงโทษ และส่งผลลบต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ได้ หากจำเป็นต้องใส่ Pop-up แนะนำให้แสดงหลังจากที่ User เลื่อนอ่านหน้าเว็บไซต์แล้วระยะหนึ่ง ควรใช้ขนาดประมาณ 20-30% ของหน้าจอ พร้อมปุ่ม X ที่สามารถกดปิดได้ง่าย และไม่ควรแสดงทุกครั้งที่มีการเปิดหน้าใหม่

 ระวัง​การแฮ็กเว็บไซต์

เว็บไซต์ที่ถูกแฮ็กมักเป็นการเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์แล้วปิดล็อคเว็บไซต์ไม่ให้ใช้งาน แน่นอนว่าย่อมกระทบต่อการจัดดับอย่างแน่นอน เพราะเนื้อหาในเว็บไซต์ได้หายไป นอกจากนี้ก็ยังมีการแฮ็กโดยแอบแก้ไขข้อมูล เช่น การนำเนื้อหาอื่นมาใส่ไว้ หรือฝัง Malware พวกไวรัสในเว็บไซต์ เมื่อ Google พบปัญหานี้ก็จะแสดงข้อความ “ไซต์นี้อาจถูกแฮ็ก” ไว้ใต้เว็บไซต์นั้นบนหน้าผลการค้นหา เพื่อแจ้งเตือนคนที่จะคลิกเข้ามา ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการทำ SEO ได้

ความสำคัญของการทำ SEO

 เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

ในปัจจุบัน มีผู้ค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หากเว็บไซต์ติดอันดับด้วย Keyword ที่มีผู้ใช้ค้นหาเป็นจำนวนมาก ก็มีโอกาสที่จะมีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากตามไปด้วย อีกทั้งเมื่อมี Keyword ใดติดอันดับ Keyword ที่ใกล้เคียงกันก็จะติดอันดับไปด้วย จึงจะมีผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นจาก Keyword อื่นๆ ที่ไม่ได้เลือกทำ SEO ได้อีกด้วย

 เพิ่มโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการ

การทำ SEO เป็นการทำให้เว็บไซต์ถูกค้นเจอด้วย Keyword ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง เป็นการทำการตลาดออนไลน์ที่ตรงเป้าหมาย ผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Search Engine ย่อมมีความสนใจใน Keyword นั้นๆ อยู่แล้ว ก็ย่อมมีโอกาสสูงที่จะซื้อสินค้าหรือใช้บริการจากเว็บไซต์ที่เข้าไปชม นอกจากนั้น การที่มีผู้เข้าชมเว็บไซต์มากขึ้น ก็มีโอกาสที่จะขายสินค้าหรือบริการได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

 โปรโมทเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จักและเพิ่มความน่าเชื่อถือ

โดยส่วนใหญ่เวลาที่คนค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine ก็จะเปิดดูเว็บไซต์ที่อยู่ในหน้าแรกหรือหน้าถัดมาในผลการค้นหาเท่านั้น การที่เว็บไซต์ของเราปรากฏอยู่ในหน้าแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอันดับต้นๆ จะทำให้ชื่อของเว็บไซต์ได้เห็นผ่านตาและเป็นที่รู้จัก แม้ว่าจะยังไม่ได้คลิกเข้ามาดูเนื้อหาในเว็บไซต์ก็ตาม และที่สำคัญคือ ผู้คนมักจะให้ความเชื่อถือเว็บไซต์ที่อยู่อันดับแรกๆ ซึ่งอยู่เหนือคู่แข่งอีกมากมาย จึงย่อมตัดสินใจซื้อสินค้าหรือใช้บริการในเว็บไซต์นั้นๆ ได้ง่ายขึ้น

 ลดค่าใช้จ่ายในการลงโฆษณา

เนื่องจากทำ SEO ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งกว่าเว็บไซต์จะติดอันดับในหน้าแรก จึงเหมาะเป็นการทำการตลาดในระยะยาว และเนื่องจากการคลิกเว็บไซต์ในส่วนของ SEO นั้นจะไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นเหมือนกับการลงโฆษณาแบบ PPC กับ Search Engine โดยตรง จึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ และราคาค่อนข้างถูกกว่าการลงโฆษณากับสื่ออื่นๆ ทั้งนี้หากเลือกทำ SEO ด้วย Keyword ยอดนิยมที่มีคนใช้มากๆ ค่าใช้จ่ายก็อาจสูงตามไปด้วย เพราะมีการแข่งขันที่สูง ดังนั้น เวลาเลือก Keyword จึงควรพิจารณาให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ในการทำการตลาดและความคุ้มค่าในการลงทุน

Google Ads สายขาว สายเทา

ทำไมต้องลง Google Adwords

Search Engine ที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก การโฆษณาบน Google ทำให้คุณเข้าถึงลูกค้าที่มีศักยภาพในการซื้อได้อย่างง่ายดาย
Google Adwords มีผู้ใช้ทั่วโลก

รองรับคำค้นหลากหลายภาษา
แสดงผลหน้าแรกภายใน 10 นาที
เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้ชัดเจนทั่วโลก
ประหยัดกว่าสื่ออื่นๆ
เสียค่าโฆษณาตามคลิ๊กเท่านั้น
โฆษณาไปแสดงบนเว็บไซต์พันธมิตรทั่วโลก

รับลงโฆษณา Google Ads

โดยมืออาชีพ ประสบการณ์ 15 ปี
บริการลงโฆษณา Google AdWords สายเทา บอล หวย ยิงแอดได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ตามงบที่ลูกค้ากำหนดได้เองทั้ง รายวัน รายเดือน รับโปรโมทเว็บ สายเทา สายดำ ด้วยประสบการณ์ มากกว่า 15 ปี

วิเคราะห์จัดกลุ่มโฆษณาอย่างมืออาชีพ
มีรายงานให้ทุกอาทิตย์
ได้รับการรับรองจาก Goolge Partners
คุมงบไม่บานปลาย
คิดข้อความโฆษณาให้
ปรับแต่งโฆษณาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ไม่จำกัดคำค้นหา
กำหนดเวลาแสดงผลได้
คุยง่าย บริการด้วยใจ
ติดตั้ง Google Analytics ให้ถ้ามี

ค่าใช้บริการ Google Adwords Package - สายขาว

Google Ads Basic

คิดข้อความโฆษณา
คีย์เวิร์ด 10 Keywords
แคมเปญ 2 แคมเปญ
กลุ่มโฆษณา 4 กลุ่มโฆษณา
Google Sitelink ไม่มี
Google Remarketing ไม่มี
Google Ads Report รายเดือน
ค่าบริการ 5,000 บาทต่อเดือน
ค่าโฆษณาขั้นต่ำ ลูกค้ากำหนดเอง

5,000฿/เดือน

Google Ads Normal

คิดข้อความโฆษณา
คีย์เวิร์ด 20 Keywords
แคมเปญ 4 แคมเปญ
กลุ่มโฆษณา 8 กลุ่มโฆษณา
Google Sitelink มี
Google Remarketing มี
Google Ads Report รายเดือน
ค่าบริการ 7,000 บาทต่อเดือน
ค่าโฆษณาขั้นต่ำ ลูกค้ากำหนดเอง

7,000฿/เดือน

Google Ads Advance

คิดข้อความโฆษณา
คีย์เวิร์ด ไม่จำกัด
แคมเปญ ไม่จำกัด
กลุ่มโฆษณา ไม่จำกัด
Google Sitelink มี
Google Remarketing มี
Google Ads Report รายอาทิตย์
ค่าบริการ 12,000 บาทต่อเดือน
ค่าโฆษณาขั้นต่ำ ลูกค้ากำหนดเอง

12,000฿/เดือน

ค่าใช้บริการ Google Adwords Package - สายเทา

แรกเข้า 15k

Fee 20% จากยอดยิง ยิงขั้นต่ำวันละ 10k

ผลงาน

บริการยอดนิยม

หากมีข้อสงสัยหรือสนใจบริการตัวไหน แอดไลน์มาเลย!!

มาทำความรู้จัก SEM หรือ Search Engine Marketing

ทุกวันนี้โลกออนไลน์เติบโตขึ้นมาก สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือการทำการตลาดออนไลน์ SEM หรือ Search Engine Marketing หมายถึง การทำการตลาดผ่านเสิร์ชเอนจิ้น (google) คือทำให้เว็บไซต์เราปรากฎอยู่ใน เสิร์ชเอนจิ้น นั้นๆอยู่อันดับแรกๆ จะทำให้มีลูกค้าเห็นและสามารถคลิกเข้ามาได้ง่าย

การทำ SEM หรือ Search Engine Marketing

แบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ย่อยๆ ครับ นั่นคือ Search Engine Advertising กับ Search Engine Optimization เราจะไปดูความหมายของคำ 2 คำนี้กัน

Search Engine Advertising

หมายถึง การซื้อโฆษณาหรือ ลงโฆษณาในเสิร์ชเอนจิ้น เพื่อให้ร้านออนไลน์เว็บไซต์ของเราแสดงให้ ผู้ใช้เสิร์ชเอนจิ้นเห็น กรณีของเสิร์ชเอนจิ้นอันดับหนึ่งอย่าง Google ก็ จะเรียกโปรแกรมโฆษณาของตัวเองว่า Google Ads เมื่อเราจ่ายเงินลง โฆษณาผ่านโปรแกรม Google Ads โฆษณาของเราจะไปแสดงให้ผู้ใช้ เห็นในหน้าผลการค้นหาของ Google (ดูภาพประกอบด้านล่าง) และปกติ แล้วการลงโฆษณากับ Search Engine Advertising นี้ จะมีการคิดค่า โฆษณาแบบ PPC (Pay-Per-Click) ซึ่งหมายถึงเราจะจ่ายเงินค่าโฆษณา เมื่อมีคนคลิกโฆษณาครับ

Search Engine Optimization

หมายถึง การทำให้ร้าน ออนไลน์เว็บไซต์ของเราขึ้นไปแสดงผลอยู่ในลำดับตันๆ ในหน้าผลการค้นหาของเสิร์เอนจิ้นเวลามีผู้ใช้เสิร์ชด้วยคำค้นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการทำ Search Engine Optimization นี้เป็นการทำ Search Engine Marketing แบบที่ไม่ต้องเสียงิน และคำย่อของ Search Engine Optimization ก็คือ SEO นั่นเอง โดยการทำ SEO นี้มีเทคนิคมากมายหลายอย่างครับ แต่หลักๆ ก็จะเป็นการปรับแต่งร้านออนไลน์/เว็บไซต์ของเราให้สอดคล้องกับการทำงานของเสิร์ชเอนจิ้น เพื่อให้เสิร์ชเอนจิ้นชื่นชอบและจัดลำดับ หรือแรงกิ้ง (Ranking) ของเราไว้สูงๆ ซึ่งจะช่วยให้มีคนหาร้านออนไลน์เว็บไซต์ของเราเจอมากขึ้น

Algorithm ของ Google

googleแบน หรือโดน ลงหลุมทราย คือ คนเข้าได้แต่โดน Algorithm ที่สำคัญของ Google แบน index ทำ seoให้ตาย index ก็ไม่มี ไม่มีโอกาส ติดหน้าแรกอย่างถาวร จนกว่าจะไปยื่นอุทรณ์กับ google หรือหาวิธีแก้ในอนาคต

Algorithm ที่สำคัญของ Google ในการจัดอันดับ มีดังนี้

Panda Algorithm (แพนด้า อัลกอริทึม)

Panda Algorithm จะคอยตรวจสอบและจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ด้วยเงื่อนไขว่าเนื้อหาในหน้าเว็บนั้นๆ เป็นเนื้อหาที่ สอดคล้องกับคำค้นหาที่พิมพ์ลงไปใน Google ข้อมูล หรือที่นัก SEO มักเรียกว่า On page SEO ซึ่งอัลกอริทึมตัวนี้จะใช้เป็นกระบวนการสำหรับการค้นหา คัดกรองบทความที่มีความเป็น Contents Farm (เนื้อหาไร้คุณภาพ ซ้ำๆกับเว็บไซต์อื่น) ออกจากดัชนี (Index) ของ Google หรือลดอันดับให้แสดงผลท้ายๆของผลการค้นหา

Penguin Algorithm (แพนกวิน อัลกอริทึม)

Penguin Algorithm เป็นอัลกอริทึมทำหน้าที่ตรวจสอบ และคัดกรองลิงก์เชื่อมโยงมาที่เว็บไซต์นั้นๆ หรือ Back link ว่ามีการสร้าง Link ที่เป็นธรรมชาติหรือไม่ หรือมีการจงใจสร้างลิงก์เชื่อมโยงจากเว็บไซต์อื่นๆมากเกินไปเพื่อทำอันดับอย่างจงใจ Back link ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีสำคัญอย่างมาก โดยให้คะแนนจาก Link คุณภาพ ที่มาจากเว็บไซต์คุณภาพ ลิงก์ที่เป็น Text link (ลิงก์ที่เป็นอักษรที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์)

Caffeine Algorithm (คาเฟอิน อัลกอริทึม)

Caffeine Algorithm เป็นอัลกอริทีมที่ให้ความสำคัญกับความถี่ในการอัพเดทเนื้อหาของเว็บไซต์ และถูกนำมาใช้สำหรับการค้นหา SEO บนมือถือ ดังนั้นส่งผลให้เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาสดใหม่ มีการอัพเดทบ่อยๆ ถูกดึงมาแสดงผลในการค้นหาของ google บ่อยขึ้นตามความถี่ในการอัพเดท ทำให้อันดับใน Google มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตลอดทั้งวัน ซึ่งจะคอยเกาะกระแส Trend ของระบบข่าวสารตามเว็บ Social ต่างๆได้ดีเพราะมีการอัพเดทข้อมูลอย่างบ่อยๆนั้นเอง

Hummingbird Algorithm (ฮัมมิ่งเบิร์ด อัลกอริทึม)

Google Hummingbird Algorithm คือ อัลกอริทีมเทคโนโลยีใหม่ที่มาพลิกวงการการค้นหาแบบเดิมๆกันเลยทีเดียว เพราะ Hummingbird อัลกอริทึมนั้นสามารถรวบรวมสถิติการค้นหาใหม่ในรูปแบบเสียง ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากพวกอุปกรณ์ Tablet และ Smartphone จากนั้นจะนำข้อมูลเสียงเหล่านี้แปลออกมาเป็นคำศัพท์และเก็บลงเป็นสถิติการค้นหาเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ สิ่งทีกำลังนิยมค้นหาอยู่ในปัจจุบัน ในเมื่อ Hummingbird สามารถทำการค้นหาข้อมูลด้วยเสียงได้และสามารถจัดทำ Index ด้วยเสียงได้เช่นกันดังนั้นการที่เจ้าของเว็บไซต์จะมีข้อมูล Contents ที่เป็นข้อมูลแบบเสียงเพิ่มเข้ามาใน Website ก็เป็นการเพิ่มโอกาสในการค้นหา SEO เข้าไปนั้นเอง