สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงเทคโนโลยี คำว่า “SEO” (เอส-อี-โอ) คงเป็นคำศัพท์ที่แปลกใหม่ ส่วนถ้าไม่ได้อยู่ในวงการไอที แต่ทำธุรกิจบนโลกออนไลน์หรือมีเว็บไซต์บริษัท การ ทำ SEO ก็จะเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ต้องทำความรู้จักอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะการทำSEO คือการทำให้ Google หรือระบบค้นหารู้จักเว็บไซต์ของเรา และนำเว็บไซต์ของเรามาเสนอให้คนที่ค้นหาข้อมูลใน Google เห็น
ในบทความ WOW เรื่องนี้ จะมาปูพื้นกันง่ายๆ 5 ขั้นตอนการทำ SEO ที่นำไปปรับใช้กับเว็บไซต์จะช่วยให้ ทำ SEO ได้สำเร็จจริงๆ
- วิธีดูว่าลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเราค้นหาอะไร
- วิธีปรับหน้าเว็บเพจให้มีคำค้น หรือ keyword (คีย์เวิร์ด) ที่เราต้องการ
- วิธีตรวจสอบว่า ทั้งระบบค้นหา (Google) และคนใช้งานเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้
- วิธีทำให้เว็บไซต์อื่นใส่ลิงค์ที่คลิกเข้ามาหาเว็บไซต์ของเรา
- วิธีประเมินว่าเว็บของเราทำ SEO สำเร็จหรือยัง หรือสำเร็จไปถึงขั้นไหนแล้ว
Table of Contents
พื้น #1 : ดูว่าลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเราค้นหาอะไร
เราไม่สามารถปรับเว็บไซต์ได้ถูกทาง ถ้าไม่รู้ว่า ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเรา ค้นหาหรืออยากรู้เรื่องอะไร แล้วเราจะเริ่มต้นจากอะไรดี? อย่างแรก เริ่มจากใช้สัญชาตญาณหรือนิสัยการค้นหาของเราเอง
สมมติว่า เราทำธุรกิจโรงแรมที่เชียงใหม่ ลูกค้าที่อยากหาที่พักเชียงใหม่น่าจะค้นหาโดยใช้คำว่า
- โรงแรมเชียงใหม่
- ที่พักเชียงใหม่
- ห้องพักเชียงใหม่
จดคำค้นเหล่านี้ใส่กระดาษไว้ก่อน แล้วลองเริ่มค้นจริงๆ ในอินเตอร์เน็ต
ค้นหาในอินเตอร์เน็ตว่า คนค้นหายังไงจริงๆ
อย่างแรกเริ่มจากพิมพ์ใน Google เลย เริ่มด้วยคำค้นที่เราจดใส่กระดาษไว้เมื่อครู่ก็ได้
จากการเลื่อนดูผลการค้นหาพบว่า 90% ของลิงค์เว็บไซต์ที่ขึ้นมาในหน้า Google (ไม่รวมโฆษณา) มีคำว่า “ที่พักเชียงใหม่” อยู่ในชื่อเรื่อง/หัวข้อ ซึ่งการใส่คำค้นไว้ในชื่อเรื่องเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันคือวิธีทำ SEO อย่างหนึ่ง
แต่เพื่อความมั่นใจ ให้เรานำคำค้นนี้ไปค้นหาในเครื่องมือหาคีย์เวิร์ด (Keyword Planner) โดยเฉพาะ จะเป็นเครื่องมือแบรนด์ใดก็ได้ WOW ยกตัวอย่างเป็น Ahrefs
จะเห็นว่า คำว่า “ที่พักเชียงใหม่” ที่เราปักธงไว้ในใจ มีคนค้นหาจริงๆ ในประเทศไทยถึง 16,000 ครั้งต่อเดือน เป็นคำค้นหาที่ไม่ค่อยมีเว็บไซต์ไหนใช้มากด้วย โดยดูจากระดับความยากของคำค้น (Keyword Difficulty) สรุปแล้วจึงถือว่า เป็นคำค้นที่น่าใช้สำหรับเว็บไซต์ธุรกิจโรงแรมในเชียงใหม่ของเรา
สืบหาคำค้นอื่นๆ ที่คนชอบใช้
ทีนี้นอกจากคำว่า “ที่พักเชียงใหม่” ในเครื่องมือค้นหาคำค้นส่วนมากจะมีฟังก์ชั่นคำใกล้เคียงอื่นๆ ที่ให้เราเลือกหยิบไปใช้ได้ ซึ่งเราควรหยิบไปใช้ เพราะเว็บไซต์ส่วนใหญ่ใส่คำค้นดีๆ ในแต่ละหน้าเว็บเพจเยอะมาก เพื่อให้เว็บไซต์ของตัวเองติด Google ในหน้าแรก เฉลี่ยอยู่ที่ 150-200 คำ ต่อ 1 หน้าเว็บเพจ
วิธีคือ ให้เราลองหาเหมือนกับวิธีที่ทำกับคำค้น “ที่พักเชียงใหม่” หรือถ้าใช้เครื่องมือค้นหาก็ให้ลองดูว่า เครื่องมือแนะนำคำอื่นๆ อะไรบ้าง
เจาะคำค้นหลัก เพื่อหาคำค้นที่ยาวขึ้น
คำค้นที่ยาวขึ้นหรือ คำค้นหางยาว (Long-tail Keyword) คือ คำค้นที่คนส่วนใหญ่ก็หาเหมือนกัน เพราะธรรมชาติของการค้นหาก็มีทั้งสั้นและยาว
วิธีการค้นหาคำค้นหางยาว แค่ดูจากที่ Google แนะนำมาเท่านั้นเอง
หรือดูจาก “Searches related to …” ที่อยู่ด้านล่างก็ได้
ถ้าอยากค้นให้ละเอียดขึ้นกว่านี้อีก ก็แค่ลองพิมพ์อะไรเพิ่มเข้าไป อาจจะเริ่มจากการไล่ ก – ฮ
ค้นหา “คำถาม” ที่คนสงสัยและมาค้นใน Google
แนะนำให้ค้นหาคำถามเหล่านี้ในพื้นที่ออนไลน์ต่างๆ เช่น
เว็บกระทู้ถามตอบต่างๆ เช่น Pantip สำหรับคำค้น “ที่พักเชียงใหม่” อาจจะอยู่ในหมวดท่องเที่ยว หรือเปิดคู่มือท่องเที่ยวดูว่ามีหมวดหมู่หัวข้ออะไรบ้าง
หน้าฟีดโซเชียลมีเดียของเรา เพื่อนๆ เราชอบโพสต์เรื่องอะไรในหน้าฟีดของตัวเองบ้าง
วิธีนี้ช่วยให้เรารู้ว่า ปัจจุบันนี้ คนอยากรู้อะไรเกี่ยวกับ ที่พักเชียงใหม่ หรือ เชียงใหม่ หรือแม้กระทั่งที่พัก แล้วนำสิ่งนี้มาสร้างเป็นหัวข้อคำตอบของคำถามเหล่านี้
เช่น คนอาจถามว่า ที่พักเชียงใหม่ ใกล้แม่น้ำ มีที่ไหนบ้าง? เราก็อาจทำบทความแนะนำที่พักของเราที่อยู่เชียงใหม่และใกล้แม่น้ำพอดีลงเว็บไซต์ธุรกิจโรงแรมของเรา
หากมีเครื่องมือค้นหาคำค้น ในเครื่องมือเหล่านี้มักมีส่วนของ Content Explorer ซึ่งจะช่วยค้นหาลิ้งค์เว็บไซต์จากคำค้นเป้าหมายของเราที่ติดหน้าแรกของ Google มาให้เราดู
ข้อมูลตรงนี้จะช่วยให้เรารู้สิ่งที่น่าสนใจอย่าง
- เว็บไซต์ที่ติดหน้าแรกด้วยคำค้นที่เราเล็งไว้มีเว็บอะไรบ้าง ชื่อหัวข้ออะไร
- คนชอบคลิกเข้าไปอ่านเรื่องอะไร
- คนอยากรู้เรื่องอะไร
Tips ของเรื่องที่ 1 : ศึกษาเรื่องการหาคำค้น (Keyword) ให้มากที่สุด และทำแผนผังคำค้นที่ใช้ อาจจะทำเป็นตารางในโปรแกรม Excel ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพว่า เราใช้คำค้นอะไรบ้าง บ่อยแค่ไหน ใช้กับเนื้อหาประเภทใดบ้าง คำค้นมีแนวโน้มปริมาณค้นหาขึ้นลงอย่างไร คำค้นนั้นแตกขยายเป็นคำอะไร ฯลฯ
พื้น #2 : สร้างหน้าเว็บเพจให้เอื้อต่อการค้นหา
การค้นหาคำค้น (Keyword) เป็นก้าวแรกของการเพิ่มยอดคนเข้าชมเว็บเท่านั้น แต่ถ้าเรามี keyword ดีๆ เยอะแยะ แต่เว็บไซต์เราไม่เอื้อต่อการค้นเจอใน Google เลย คนก็ค้นหาเว็บไซต์ของเราไม่เจอ ก็ไม่มีประโยชน์ วิธีสร้างหน้าเว็บเพจให้คนค้นหาเว็บเราเจอ มีขั้นตอนดังนี้
สร้างเนื้อหาให้เข้ากับ “การค้นหา”
การค้นหาที่ผู้คนมักทำมีอยู่ 3 ประเภท
- หาแบบเจาะจง : คนหาเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งเจาะจง เช่น เว็บไซต์สายการบิน
- หาข้อมูล : คนหาข้อมูลเฉพาะในบางเรื่อง เช่น ที่เที่ยวในเชียงใหม่
- ทำธุรกรรม : คนหาซื้อสินค้า/บริการ เช่น จองที่พักในเชียงใหม่
เมื่อทราบแล้ว ก็ให้เราเอา Keyword ที่เราต้องการ ไปดูในเครื่องมือค้นหาคำค้น (Keyword Planner) ว่า Keyword นั้น มีเว็บเพจอะไรขึ้นมาบ้าง และเว็บเพจนั้นๆ เกี่ยวกับเรื่องอะไร
จะสังเกตได้ว่า คำค้น “ที่พักเชียงใหม่” มีเว็บเชิง “ให้ข้อมูล” ขึ้นมามากกว่า เว็บเหล่านี้นอกจากจะทำ SEO ดีแล้ว ยังนำเสนอเนื้อหาที่ตอบโจทย์การค้นหาด้วย เราสามารถนำหัวข้อของลิ้งค์เหล่านี้ไปใช้คิดคำนวณว่า เราควรจะนำเสนอเนื้อหาอะไรที่
- เข้ากับความสนใจของกลุ่มเป้าหมายของเรา
- มีข้อมูลดีกว่าเว็บไซต์อื่นๆ เช่น ถ้าเว็บที่ติดอันดับต้นๆ นำเสนอ “20 ที่พักเชียงใหม่..” เว็บเราทำบทความ “30 ที่พักเชียงใหม่อัพเดต 2022” เป็นต้น
- เข้ากับเว็บไซต์ของเรา ถึงที่สุดแล้วก็ต้องย้อนกลับมาดูจุดยืน การแสดงตัวของเว็บไซต์ของเราด้วย
ใช้ลิ้งค์ URL ที่สั้นแต่ได้ใจความ
ลิ้งค์ URL ของเว็บเพจ มีผลต่อ Google เช่นกัน เราควรจะแต่งและเลือกให้เสร็จตั้งแต่ก่อน publish งาน ไม่ควรมาเปลี่ยนทีหลัง เพราะมีผลต่อการค้นหา Google ได้แนะนำวิธีการทำ URL ไว้ว่า ควรจะเข้าใจง่ายที่สุด
เช่น uneeddigital.com/how to do seo/ เห็นแล้วก็เข้าใจเลยว่าพูดถึงเรื่อง ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จขายดิบขายดีในช่วง COVID-19 แพร่ระบาด ซึ่งดีกว่าเว็บไซต์ที่เป็นรหัสอัตโนมัติอย่าง uneeddigital.com/blog/56945602_86587356
แต่ง ชื่อเรื่องเว็บ (Meta Title) และคำอธิบายเว็บ (Meta Description)
ชื่อเรื่องเว็บ (Meta Title) และ คำอธิบายเว็บ (Meta Description) คือ ชื่อและคำอธิบายของเว็บที่จะปรากฏในการค้นหา
ชื่อเรื่องเว็บ (Meta Title) ควรประกอบด้วย
- คำค้นหา (Keyword) ที่เราอยากให้เว็บเพจของเราติดใน Google
- ความน่าสนใจ อ่านแล้วอยากคลิกเข้าไปอ่าน แนะนำว่าให้คนอื่นอ่าน เพราะโดยธรรมชาติเราจะรู้สึกว่า สิ่งที่เราเขียนดีแล้ว
- สั้น แนะนำว่าควรอยู่ที่ประมาณ 60 – 65 ตัวอักษร
ส่วน คำอธิบายเว็บ (Meta Description) ควรประกอบด้วย
- คำค้นหา (Keyword) ที่เราอยากให้เว็บเพจของเราติดใน Google
- เนื้อหาอธิบายชื่อเรื่องเว็บ เขียนขยายชื่อเรื่องเว็บ เขียนโฆษณาสิ่งที่คนอ่านจะพบในเว็บนี้
- กระชับ แนะนำว่าไม่ควรเกิน 156 ตัวอักษร
ใช้หัวข้อ (Header) และหัวข้อย่อย (Subheader) ในการสร้างเนื้อหา
หัวข้อ (Header) และหัวข้อย่อย (Subheader) ช่วยให้ระบบ search engine เข้าใจเว็บไซต์ของเราง่ายและไวขึ้น และช่วยให้คนอ่านเข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งจะมีตั้งแต่ H1 ถึง H6 หัวข้อและหัวข้อย่อยจะช่วยให้เราเข้าใจโครงสร้างของบทความ ซึ่งถ้าเนื้อหามีไม่มาก ก็จะใช้อยู่แค่ H1 – H3
- H1 โดยทั่วไปแล้วก็จะเป็นชื่อเรื่องของบทความ ควรมี Keyword อยู่
- H2 มักจะเป็นหัวข้อหลักของบทความ ควรมี Keyword อยู่ในนั้นด้วยเช่นกัน หรือควรจะมี Long-tail Keyword อยู่
- H3 เป็นหัวข้อที่ย่อยมาจากหัวข้อหลักของบทความอีกที
ปรับ (Optimize) ภาพให้ระบบค้นหาเห็น
วิธีการปรับภาพให้ระบบค้นหาเห็น คือ ใส่คำค้นในช่อง Alt Text ของภาพ ถ้า Keyword มีหลายคำ ให้ใส่ลูกน้ำ ( , ) ระหว่างคำค้นแต่ละคำด้วย
พื้น #3 : ทำให้ทั้ง “คน” และ “ระบบ” เข้าถึงเว็บไซต์เราได้ง่ายๆ
คน และ ระบบ อ่านเว็บไซต์ของเราด้วยภาษาคนละภาษา แต่ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะเข้าใจทั้งสองภาษานี้ เพราะเวลาที่เราเขียนภาษาคน ระบบหลังบ้านของเว็บไซต์จะแปลงภาษาให้ระบบรู้ด้วยเช่นกัน แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า การแปลงภาษานี้ดีพอที่จะทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับใน Google แล้ว? ให้เราดูเรื่องต่อไปนี้
เว็บโหลดเร็วแล้วหรือยัง?
ทั้งคนและระบบให้ความสำคัญกับการเวลาโหลดของเว็บมาก ซึ่ง WOW เล่าให้ฟังไปในบทความที่แล้วที่ชี้ว่า ผลสำรวจ 40% ของลูกค้าจะรอเว็บโหลดได้จริงๆ ไม่เกิน 3 วินาที
นอกจากผลสำรวจ เราวัดดูจากการใช้เว็บของตัวเองก็พอทราบว่า เราเองก็ไม่ชอบเว็บที่โหลดช้าเหมือนกัน
ผู้ใช้งานอาจจะรู้ว่า เว็บโหลดช้าสำหรับเราไหม แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เว็บของเราโหลดช้าสำหรับระบบหรือเปล่า
วิธีตรวจสอบให้นำลิ้งค์เว็บของเราไปวิเคราะห์ที่ PageSpeed Insights ของ Google หรือ GTMetrix ผลวิเคราะห์จะแสดงข้อมูลออกมาว่า เว็บเราเร็วหรือไม่ เร็วแค่ไหน และปัจจัยที่ทำให้้เว็บโหลดช้าคืออะไร ให้เราไปปรับปรุงแก้ไขเว็บได้
เว็บไซต์ของเราเข้ากับการใช้งานบนสมาร์ทโฟน
ปัจจุบัน การใช้งานอินเตอร์เน็ตกระทำบนสมาร์ทโฟน หรือที่เราเรียกติดปากว่ามือถือ เป็นส่วนใหญ่ เว็บไซต์ของเราก็ควรจะอ่านง่าย ใช้งานง่าย บนสมาร์ทโฟนด้วยเช่นกัน ที่เรียกว่า Mobile-Friendly
วิธีการตรวจสอบง่ายนิดเดียว ให้นำลิงค์ไปตรวจที่เว็บ Mobile-Friendly Test ของ Google ได้เลย
ทำแผนผังเว็บไซต์ (Sitemap)
แผนผังเว็บไซต์ (Sitemap) คือ แผนผังโครงสร้างของเว็บไซต์ ว่ามีหมวดหมู่หลัก และหมวดหมู่ย่อยอะไรบ้าง เพื่อให้ระบบ Search Engine ค้นพบเนื้อหาที่เราสร้างขึ้นบนเว็บไซต์ และเข้าใจว่าเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์เชื่อมต่อกันอย่างไร
Sitemap อาจจะไม่กระทบต่ออันดับของเว็บไซต์เราในหน้าการค้นหา แต่จะช่วยให้ระบบค้นหาจัดเว็บเพจเราเข้าระบบและนำไปแสดงผลบน Google ไวขึ้น
อัพโหลดไฟล์์ Robots.txt
ไฟล์ Robots.txt คือ ไฟล์ที่ช่วยชี้ทางให้ระบบ Search Engine รู้ว่า ควรเข้าไปเก็บข้อมูล (Crawl) อะไรจากเว็บไซต์ ซึ่งเว็บไซต์แต่ละเว็บควรมีไฟล์นี้ เพราะระบบ Search Engine จะจำกัดการเก็บข้อมูลของแต่ละเว็บ
นั่นหมายความว่า ถ้าเราปล่อยให้ Search Engine เก็บข้อมูลทุกหน้าเว็บเพจ เว็บไซต์ของเราก็จะเสียโควต้าการเก็บข้อมูลได้
ใส่ลิงค์ภายในเว็บเดียวกัน (Internal Link) ในหน้าเว็บเพจๆ ของเว็บไซต์
การใส่ลิงค์ภายในเว็บเดียวกัน ช่วยให้ระบบ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูลของเว็บไซต์เราได้ไวขึ้น และช่วยให้ระบบรู้ด้วยว่า เราต้องการเน้นเว็บเพจใดของเว็บไซต์
พื้น #4 : สร้าง Backlink จากเว็บไซต์อื่น
การสร้างลิงค์ หรือ Backlink เป็นเคล็ดลับที่ดีที่ช่วยให้ทำ SEO ได้สำเร็จวิธีหนึ่ง (แม้จะมีข่าวอัพเดตว่า Google ลดความสำคัญของปัจจัยนี้ในการจัดอันดับของเว็บลงแล้ว แต่ Google ก็ยังไม่ได้ตัดเรื่องนี้ทิ้งเสียทีเดียว คนทำเว็บไซต์จึงยังควรทำ Backlink อยู่)
Backlink คือ การที่ลิงค์ของเว็บไซต์ของเรา ไปปรากฎอยู่ในเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งการนำลิ้งค์ของเว็บไซต์เราไปฝากไว้ที่เว็บไซต์อื่น ทำได้หลายวิธี
ร่วมมือกับเว็บไซต์อื่น
วิธีนี้เป็นวิธีที่คนทำเว็บไซต์ส่วนใหญ่นิยมทำ วิธีการคือ ติดต่อเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมเยอะๆ ด้วยการอีเมลไปหาผู้จัดทำเว็บไซต์ แล้วแนะนำว่า เว็บของเรามีเนื้อหาที่อยากฝาก Backlink เป็นเนื้อหาอะไร และน่าจะมีประโยชน์กับเว็บไซต์อย่างไร
ข้อแลกเปลี่ยนของวิธีนี้อาจจะเป็นการแลกลิ้งค์กันระหว่างสองเว็บไซต์ การจ่ายเงิน หรือโครงการต่างๆ ที่อาจมีร่วมกันในอนาคตเป็นต้น
แต่ปัจจัยหลักที่เว็บไซต์ที่เราไปติดต่อจะดูคือ เว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์กับเว็บไซต์ของเขาหรือไม่ เพราะถ้าไม่แล้วการนำบทความที่ไม่มีสาระหรือไม่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ไปลง ก็อาจจะทำให้เว็บเสียเครดิตกับคนอ่านหรือการจัดอันดับของ Google ได้
แปะลิ้งค์ใน YouTube
เว็บไซต์สามารถสร้าง Backlink ได้เองด้วยการแปะล้ิงค์ในช่อง Description ของ คลิป เช่น เว็บบริษัททัวร์อาจจะทำคลิปรีวิวการท่องเที่ยวญี่ปุ่นผ่านทัวร์ของบริษัทไปลงในช่อง YouTube แล้วแปะลิ้งค์แพ็กเกจทัวร์ญี่ปุ่นของตัวเองในช่อง Description
แปะลิ้งค์ในช่องทางโซเชียลมีเดีย เว็บตั้งกระทู้พูดคุย
การแปะลิ้งค์เว็บไซต์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียที่ได้ผลมากที่สุดในเวลานี้ มาจากการแปะลิ้งค์ของเพจ Influencer ดังๆ เช่น เพจหมอดู เพจดารา
หรือหากเป็นเว็บตั้งกระทู้พูดคุย เจ้าของลิ้งค์ต้องมั่นใจว่า เนื้อหาในเว็บไซต์ของเราเป็นประโยชน์จริงๆ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะถูกลบหรือบล็อกโดยเว็บนั้นๆ
เป็นนักเขียนรับเชิญให้กับเว็บไซต์อื่น
ก่อนหน้านี้ วิธีเป็นนักเขียนรับเชิญให้กับเว็บไซต์อื่นเพื่อฝากลิ้งค์เป็นวิธีที่คนเลี่ยงไม่ใช้กัน เพราะเข้าใจว่า Google ไม่อนุญาตให้ใช้วิธีนี้ในการสร้าง Backlink
แต่ที่จริงแล้ว Google โอเคให้ใช้วิธีนี้ได้ หากนักเขียนแจ้งเจตจำนงว่าเขียนเพื่อสร้าง Backlink หรือเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องที่เขียนจริงๆ
สมมติว่า คุณเป็นเจ้าของบริษัททัวร์ คุณอาจจะติดต่อเว็บไซต์นิตยสารท่องเที่ยวว่าสนใจเขียนเรื่องประสบการณ์ไกด์ทัวร์สนุกๆ เป็นซีรี่ย์ยาวๆ ให้เว็บไซต์นั้นๆ ซึ่งจะมีการแปะลิ้งค์กลับมายังเว็บขายทัวร์ของคุณด้วย เป็นต้น
พื้น #5 : ติดตามความเปลี่ยนแปลงด้าน SEO ของเว็บไซต์
ขั้นตอนทำ SEO ขั้นตอนสุดท้าย คือ การติดตามความเปลี่ยนแปลงด้าน SEO ของเว็บไซต์ ว่ามีคนเข้าชมดีขึ้นหรือแย่ลงกว่าเดิมหรือไม่
ซึ่งตัวชี้วัดมีอยู่ 2 อย่างคือ Organic Traffic กับอันดับของ Keyword ที่เราใช้ในเนื้อหาที่เราสร้าง
ประเมิน Organic Traffic
อธิบาย Organic Traffic อย่างง่ายๆ คือ ยอดเข้าชมเว็บไซต์ที่เกิดจากคนค้นหาใน Google แล้วเจอลิ้งค์เว็บของเราและคลิกเข้ามา วิธีดู Organic Traffic สามารถดูได้ที่ Google Analytics โดยเข้าไปที่
ติดตามอันดับของบทความ/คำค้น
การติดตามอันดับของบทความ/คำค้นช่วยให้ผู้สร้างเนื้อหารู้ว่า เนื้อหาที่ทำมีอันดับอยู่ที่เท่าไหร่ของการค้นหา เพราะคำค้นอะไร และควรเติมคำค้นอะไรเพิ่มเติมหรือไม่
เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามอันดับเหล่านี้คือ Google Search Console ซึ่งจะแสดงข้อมูลอันดับโดยเฉลี่ย การมองเห็นลิ้งค์เว็บไซต์ คลิก ฯลฯ
สรุป
การ ทำ SEO เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ไม่อาจเห็นผลความเปลี่ยนแปลงกับเว็บไซต์ทันทีทันควัน และต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง แต่นี่คือวิธีเรียกการเข้าชมที่ยั่งยืนให้กับเว็บไซต์ที่สร้าง
เมื่อรู้แล้วว่า SEO ทำอย่างไร ก็ขอให้ลองลงมือทีละเล็กทีละน้อย ไม่ช้าไม่นานรับรองว่าต้องได้เห็นความเปลี่ยนแปลง
แต่ก่อนที่ปรับ SEO ให้กับเว็บ สำคัญเลยคือ ต้องสร้างเว็บไซต์ที่ดีขึ้นมาก่อน ซึ่ง WOW มีบริการให้คำปรึกษาสร้างเว็บไซต์เพื่อธุรกิจและการค้า ก่อนจะทำเว็บกับเรา โดยส่วนของปรึกษาฟรีแบบไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมรับทำเว็บไซต์ให้ตรงตามความต้องการของการใช้งาน บริการ SEO โดยมีบริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งานเว็บไซต์ด้วย
Add a Comment